วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

การทดสอบแป้ง

                                                                      บทที่1     
ที่มาและความสำคัญ
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันผักแต่ละชนิดมีปริมาณแป้งสะสมอยู่มาก แป้งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับมนุษย์ แต่แป้งก็มีโทษเช่นกัน ถ้าเรารับประทานแป้งในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้เพราะในแป้งมีปริมาณน้ำตาลสะสมอยู่
                ในประเทศไทยพบว่ามีคนที่เป็นโรคอ้วนอยู่มาก ทำให้บุคคลเหล่านั้นคิดที่จะลดน้ำหนัก จึงคิดที่จะหันมารับประทานผักแทนเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น แต่บุคคลเหล่านั้นไม่ทราบเลยว่าในผักที่รับประทานไปนั้นมีปริมาณแป้งสะสมอยู่ ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้บุคคลที่จะลดน้ำหนักโดยการรับประทานผัก ลดน้ำหนักได้ไม่สำเร็จตามที่ตนเองหวังไว้
                พวกเราจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อทดสอบปริมาณแป้งที่อยู่ในผัก โดยใช้สารละลายไอโอดีนเป็นตัวทดสอบ เพื่อที่จะได้ทราบว่าผักแต่ละชนิดมีปริมาณแป้งสะสมอยู่เท่าไหร่และเราสามารถรับประทานผักชนิดนั้นได้ในปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ถึงจะไม่เกิดโทษและอันตราย และยังเป็นแนวทางในการลดน้ำหนักของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักโดยการหันมารับประทานผักอีกด้วย
สมมติฐาน
ฟักทองเป็นผักที่มีปริมาณแป้งสะสมอยู่มากที่สุด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทดสอบปริมาณแป้งที่สะสมอยู่ในผักแต่ละชนิด
2.เพื่อที่จะได้ทราบว่าควรรับประทานผักแต่ละชนิดในปริมาณมากน้อยเท่าไหร่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ทราบปริมาณแป้งที่สะสมอยู่ในผักชนิดต่างๆ
2.สามารถรับประทานผักแต่ละชนิดได้ในปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัย


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องทดสอบหาปริมาณแป้งที่มีอยู่ในผักในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.ความรู้เกี่ยวกับผัก
 1.1 หัวไชเท้า
 1.2 แครอท
1.3 ขิง
1.4 ข่า
1.5 ผักคะน้า
1.6 ผักกาดขาว
1.7 กะหล่ำดอก
1.8 บร็อคโคลี่
 1.9 แตงกวา
              1.10 ฟักทอง
2.ความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน
1.ความรู้เกี่ยวกับผัก
              1.1 หัวไชเท้า
ผักกาดหัว มีชื่อเรียกอื่นว่า ไช่เท้า ไช่โป๊ หัวไชเท้า หัวไช้เท้า หัวผักกาด หัวผักกาดขาว (ทั่วไป), ผักกาดจีน(ลำปาง), ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัว (ภาคเหนือ), ผักกาดหัว (ภาคกลาง) เป็นต้น
ผักกาดหัวมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน โดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวผักกาดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย (Subspecies)

ผักกาดหัว ตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่าง ๆเหล่านี้ก็จะบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่น ๆทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆนั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
ประโยชน์ของผักกาดหัว
1.ผักกาดหัวเป็นผักที่หลาย ๆ ประเทศนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เมนูหัวไชเท้า เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ต้มจืดหัวไชเท้า ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด เป็นต้น
2.หัวไชเท้าประโยชน์ของหัวผักกาด สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทองเชื่อว่ามีส่วนช่วยทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวลเหมือนคนหนุ่มสาว
3.เป็นผักสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นหวัด มีอาการไอ คออักเสบเรื้อรังและมีเสียงแหบแห้ง ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในขวดแก้ว หลังจากนั้นโรคน้ำตาล 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืนแล้วรินน้ำดื่มเป็นประจำ
4.คั้นเป็นน้ำดื่มดับกระหาย ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำขิง น้ำตาลทรายขาวพอหวาน แล้วนำมาต้มให้เดือดแล้วจิบบ่อย ๆ
5.มีส่วนช่วยในการนอนหลับ
6.มีส่วนช่วยแก้โรคประสาท
7.ช่วยลดความดันโลหิต
8.หัวผักกาดมีสารลิกนิน (Lignin) ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
9.หัวไชเท้ามีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยต่อต้านมะเร็ง
10.ช่วยระงับอาการหอบ (เมล็ด)
11.ช่วยในการเจริญอาหาร (ใบ,ทั้งต้น)
12.หัวไชเท้าสรรพคุณช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย
13.ช่วยขยายหลอดลมและหลอดเลือด
14.ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
15.ช่วยทำให้หายใจโล่งขึ้น
16.แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ราก)
17.สรรพคุณหัวไชเท้า ช่วยในการขับและละลายเสมหะ
18.แก้อาการไอหอบมีเสมหะมาก (เมล็ด)
19.ช่วยเรียกน้ำลาย (ราก)
20.แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด (ราก)
21.ช่วยรักษาอาการต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง (ใบ,ทั้งต้น)
22.ช่วยในการกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในการย่อยอาหาร
23.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย (ใบ,ทั้งต้น)
24.ชาวจีนเชื่อว่าหัวผักกาดมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพลังซี่ ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบย่อย
25.ใช้เป็นยาระบาย (เมล็ด)
26.ช่วยรักษาอาการท้องร่วง บิด
27.ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
28.ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
29.ช่วยสมานลำไส้ (ราก)
30.มีส่วนช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่น
31.ช่วยบำรุงม้าม (ราก)
32.ประโยชน์ของหัวไชเท้าช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ จึงช่วยกำจัดพิษและของเสียในร่างกาย
33.แก้อาการผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้ใบสดน้ำมาคั้นเอาน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน
34.ชาวจีนสมัยก่อนนำหัวผักกาดมาใช้รักษาโรคหัดในเด็ก
35.ในญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้าดิบมาขูดเป็นฝอยลงในซีอิ๊วใช้เป็นน้ำจิ้ม
36.มีการนำมาแปรรูปเป็นหัวไช้โป๊ว ดอกเค็ม ตากแห้งเพื่อรับประทาน
37.ในตำราอาหารญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ต้มปลาหมึกตัวสดกับหัวไชเท้า ว่ากันว่าจะช่วยทำให้เนื้อปลาหมึกนุ่มมาก
38.หัวไชเท้ารักษาฝ้ากระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นพอละเอียดแล้วใส่น้ำมะนาว 1 ช้อนแกงแล้วปั่นในโถอีกครั้งเป็นอันเสร็จ วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้าให้นำมาทาให้ทั่วผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้ากระให้จางลงได้
39.หัวไช้เท้าพอกหน้า การรักษาหน้าด้วยหัวไชเท้าอีกสูตร วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดไม่ต้องปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆประมาณ 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในโถปั่น แล้วใส่จมูกข้าวสาลีตามลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วปั่นจนละเอียดเป็นอันเสร็จ แล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้า หรือพอกตามตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีแล้วจึงล้างออก ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง




 1.2 แครอท
แครอท ชื่อสามัญ Carrot
แครอท ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus carota L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
แครอท เป็นพืชในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง เป็นที่นิยมปลูกและรับประทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าดินสอไปจนถึงขนาดใหญ่ และมีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง แต่ที่นิยมรับประทานนั้นจะเป็นแครอทสีส้มและยังจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย
แครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังมีสารสำคัญคือสาร “ฟอลคารินอล” (falcarinol) ซึ่งช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น สำหรับประโยชน์ของแครอทนั้นที่เด่น ๆ ก็เห็นจะเป็นการนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว ทั้งผัด ทอด แกง ต้ม ซุป สลัด ยำ ก็มีแครอทเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างน้ำแครอทปั่นอีกด้วย ยังไม่หมดเท่านี้สรรพคุณของแครอทที่ใช้เป็นยารักษาโรคก็ใช้รักษาได้อย่างหลากหลายเช่นกัน เช่น เป็นต้น ซึ่งน้อยคนที่จะรู้
ประโยชน์ของแครอท
1.ช่วยบำรุงสุขภาพผิว ให้สดใสเปล่งปลั่ง
2.ช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่าย จากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆ
3.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
4.ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัย และการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
6.รูปแครอทช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
7.ช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
8.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
9.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
10.สรรพคุณ แครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
11.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือด
12.ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนัง
13.ประโยชน์ของแครอท ช่วยบำรุงเส้นผม
14.ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
15.ประโยชน์ของแครอทช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
16.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจก
17.ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษ
18.ช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูก
19.แครอท สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
20.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน
21.สรรพคุณของแครอท ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆ
22.นิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
23.ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือ น้ำแครอท หรือนำมาทำเป็น เค้กแครอท
24.ในด้านความ นำน้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
25.ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท เป็นต้น



 1.3 ขิง
ขิง ชื่อสามัญ Ginger (จิน’เจอะ)
ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ขิงจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆด้าน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส แถมยังมี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ เส้นใย จำนวนมากอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของขิงนั้นเราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น
ประโยชน์ของขิง
1.ขิง จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
2.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
3.มีส่วนช่วยในการป้องกันต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
4.ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
5.ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
6.ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆนำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มน้ำดื่ม
7.ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
8.ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อย ๆ
9.ช่วยลดความยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
10.แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
11.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
12.ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
13.ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
14.ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
15.มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก,เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
16.ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า,ดอก)
17.ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
18.ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
19.การรับประทานขิงจำช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
20.ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
21.ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
22.ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
23.แก้ลม (ราก)
24.ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
25.ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป้นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
26.ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดนำไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้ง จนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสม กับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผมแล้วนวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
27.ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตาและใช้แก้อาการตาฟาง (ผล,ใบ)
28.ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
29.ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
30.ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
31.ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
32.ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
33.แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล,ราก)
34.ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
35.ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
36.ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
37.ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำนำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
38.ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
39.ช่วยรักษาโรคบิด (ผล,ราก,ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดงนำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
40.ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า,ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตก แล้วต้มกับน้ำดื่ม
41.ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
42.แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล,ราก,ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้อ อาหาร
43.ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อย ๆ
44.ประโยชน์ของขิงช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)
45.ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
46.ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
47.ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
48.ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก,ใบ)
49.ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
50.ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ,ดอก)
51.ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
52.ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
53.มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
54.ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
55.แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วนชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำมาแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าว วันละ 2 ครั้ง
56.ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อย ๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
57.หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
58.ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
59.ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษหรืออาหารช็อก
60.ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผลเพื่อป้องกันการอักเสบ และการเกิดหนอง
61.ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
62.ในด้านการประกอบอาหารนั้นขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
63.ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
64.ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลท์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
65.ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาว เป็นต้น

1.4 ข่า
ข่า ภาษาอังกฤษ Galanga, Greater Galangal, False Galangal ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับกระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และว่านรากราคะ
นอกจากนี้ข่ายังชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีกเช่น สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) เป็นต้น
ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูล ขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเรารวมทั้งอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้นับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย
ประโยชน์ของข่า
1.ประโยชน์ของข่าช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
2.ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
3.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
4.ข่ามีสาร acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนียวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
5.มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
6.สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
7.ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่,สารสกัดจากเหง้า)
8.ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น (ราก)
9.น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
10.ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก (หน่อ)
11.ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง (เหง้าแก่)
12.ข่าสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ (เหง้า,ราก)
13.ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
14.ผงจากผลแห้งสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดฟันได้ ด้วยการนำผลไปบดแล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ผลข่า)
15.ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
16.ดอกข่ารับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ดอก)
17.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
18.ข่า สรรพคุณช่วยแก้บิด ปวดมวนท้อง ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
19.ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ผลข่า)
20.ข่าช่วยอาการแก้อาหารเป็นพิษ (เหง้า)
21.เหง้าข่าแก่ช่วยย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (เหง้าแก่,ผลข่า)
22.มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า)
23.ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร (เหง้า)
24.ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
25.ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
26.ช่วยขับน้ำดี (เหง้า)
27.ช่วยแก้ดีพิการ (ข่าหลวง)
28.ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือให้หญิงรับประทานหลังคลอด (เหง้า)
29.ใช้เป็นยารักษาแผลสด (สารสกัดจากเหง้า)
30.ช่วยลดอาการอักเสบ (เหง้า)
31.สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแพ้ต่าง (สารสกัดจากเหง้า)
32.ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (สารสกัดจากเหง้า)
33.สรรพคุณ ข่าใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (เหง้า)
34.ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา (สารสกัดจากเหง้า)
35.ช่วยฆ่าพยาธิ (น้ำมันหอมระเหย,ใบ)
36.สรรพคุณของข่า ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เหง้าแก่เท่าหัวแม่มือ นำมาตำจนละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (เหง้า,ใบ)
37.ช่วยแก้ฝีดาษ (ดอกของข่าลิง)
38.ใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่ ๆ ที่สด 1 แง่ง นำมาตำจนละเอียด แล้วเติมเหล้าโรงพอแฉะ และใช้ทั้งน้ำและเนื้อนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้า)
39.ช่วยแก้โรคน้ำกัด ด้วยการใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเติมเหล้าโรงพอท่วมทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้สำลีชุบแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ (เหง้า)
40.ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้เหง้าแก่ตำละเอียด นำมาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดแล้วนำไปแช่กับเหล้าขาวหรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วันกรองเอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (เหง้า)
41.ช่วยแก้ตะคริว (เหง้า)
42.ช่วยแก้เหน็บชา (เหง้า)
43.สรรพคุณของข่าช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการปวดบวมตามข้อ ด้วยการใช้ต้นข่าแก่นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วทาแก้อาการ (ต้นแก่,ใบ,สารสกัดจากเหง้า)
44.ดอกและลำต้นอ่อนสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ลำต้น,ดอก)
45.เหง้าของข่าลิง เอามาต้มน้ำแล้วนำน้ำมาผสมกับสุรา จะช่วยเพิ่มดีกรีของสุรา ทำให้ดีกรีไม่ตก สุรามีกลิ่นฉุนแรงมากขึ้น (เหง้าของข่าลิง)
46.ช่วยแก้กามโรค (เหง้าของข่าลิง)
47.ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ
48.สารสกัดจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ช่วยฆ่าแมงลงวันได้ (สารสกัดจากเหง้า)
49.ประโยชน์ข่าช่วยไล่แมลง ด้วยการใช้เหง้านำมาตำให้ละเอียดเพื่อเอาน้ำมันหอมระเหย แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง (เหง้า)
50.ข่ามีเหง้าที่มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอม สามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ กุ้งหอยปูปลาได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
51.ในบางประเทศใช้ข่าเพื่อช่วยระงับกลิ่นปากปากและใช้ดับกลิ่นกาย
52.ข่า ประโยชน์นำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา แกงมัสมั่น แกงเทโพ แกงไตปลา ผัดเผ็ด ลาบ ฯลฯ
53.ประโยชน์ของข่า มีการนำข่าไปผลิตหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือชา ทำลูกประคบ สเปรย์ดับกลิ่น ฯลฯ
1.5 ผักคะน้า
ผักคะน้า ชื่อสามัญ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese Broccoli, Chinese Kale (ชาวจีนจะเรียกว่าผักชนิดนี้ว่า “ไก่หลันไช่“)
ผักคะน้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica alboglabra L.H.Bailey) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สานพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด
ผักคะน้าคะน้า เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่ายราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไปมันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างให้ทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะสายละลายอื่น ๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้าขึ้นนั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด) !
ผักคะน้า มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาด แร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดซ้ำ ๆเดิม ๆ และควรเลือกรับประทานผักให้หลากหลายร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด
ประโยชน์ของคะน้า
1.สรรพคุณของผักคะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกายได้
2.ผักคะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
3.ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
4.ผักคะน้ามีวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
5.สรรพคุณผักคะน้า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
6.สรรพคุณของคะน้ามีสาร ลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
7.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
8.ประโยชน์ของผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
9.ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้า มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
10.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
11.ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
12.ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
13.คะน้า สรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
14.สรรพคุณคะน้า มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
15.ผักคะน้าแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
16.ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
17.มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยั้งยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
18.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
19.สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
20.ผักคะน้า สรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
21.ผักรสขมอย่างคะน้า ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
22.ผักคะน้า สรรพคุณช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
23.ประโยชน์ของผักคะน้าการรับประทานผักคะน้าเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
24.ประโยชน์ผักคะน้า ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
25.ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
26.เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
27.คะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
28.ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
29.ประโยชน์ของคะน้า ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)
30.ประโยชน์คะน้าสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูคะน้า ก็เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น
1.6ผักกาดขาว
ผักกาดขาว ชื่อสามัญ Chinese Cabbage
ผักกาดขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. cylindrica Tsen & S.H.Lee) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica chinensis var. pekinensis (Lour.) V.G. Sun) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักกาดขาว มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดขาวปลี, แปะฉ่าย, แปะฉ่ายลุ้ย เป็นต้น
สายพันธุ์ผักกาดขาวที่นิยมปลูกมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เข้าปลียาว (ลักษณะสูง เป็นรูปไข่), พันธุ์เข้าปลีกลมแน่น (ลักษณะสั้น อ้วนกลม) และพันธุ์เข้าปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี (ปลูกได้ทั่วไป เช่น ผักกาดขาวธรรมดา ผักกาดขาวใหญ่)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม, กรดอะมิโน, โปรตีน 0.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, เส้นใย 0.8 กรัม, แคโรทีน 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม, วิตามินซี 30 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, ธาตุโพแทสเซียม 196 มิลลิกรัม, ธาตุซิลิกอน 0.024 มิลลิกรัม, ธาตุแมงกานีส 1.26 มิลลิกรัม, ธาตุทองแดง 0.21 มิลลิกรัม, ธาตุสังกะสี 3.21 มิลลิกรัม, ธาตุโมลิบดีนัม 0.125 มิลลิกรัม. ธาตุโบรอน 2.07 มิลลิกรัม, กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มิลลิกรัม
ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นในสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี !
สำหรับสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบขนาดของเส้นใยอาหารที่ต้องรับประทานอย่างแน่นอน แต่ในสหรัฐได้กำหนดให้เพศชายวัยสูงอายุ ควรบริโภคเส้นใยอาหารประมาณ 18 กรัมต่อวัน และสำหรับวัยหนุ่มสาวควรรับประทาน 20-25 กรัมต่อวัน และการรับประทานที่มากกว่าปริมาณที่กำหนดก็ไม่ได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด แต่จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น อย่างเช่นในเรื่องของการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก เป็นต้น
สรรพคุณของผักกาดขาว
1.ผักกาดขาวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
2.มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
3.ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
4.ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
5.ประโยชน์ผักกาดขาวช่วยแก้กระหาย
6.ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
7.แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
8.ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
9.ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
10.ผักกาดขาวมรออร์กาโนซัลไฟต์(organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
11.ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
12.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
13.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน โรคตาห้อง
14.ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
15.มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษของเสียและโลหะหนักออกจากร่างกาย
16.ผักกาดอุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
17.ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
18.ช่วยแก้หืด (เมล็ด)
19.ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดดื่มเป็นน้ำ
20.ช่วยแก้อาการไอ แก้และเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดพอประมาณใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วต้มกับน้ำดื่ม (หัวผักกาด,เมล็ด)
21.ช่วยแก้อาการเสียบแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
22.ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
23.ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
24.ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
25.ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3-4 แว่นแล้วนำมาเคี้ยวกินแก้อาการ
26.ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)
27.ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยในการย่อยอาหาร (หัวผักกาด,ใบ)
28.แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
29.ช่วยแก้ท้องเสีย (หัวผักกาด,เมล็ด,ใบ)
30.ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
31.สรรพคุณของผักกาดขาวช่วยขับปัสสาวะ
32.ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยแก้พิษสุรา
33.ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
34.ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
35.ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
36.ช่วยแก้อาการอักเสบ
37.ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก หรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้เมล็ดนำมาตำให้แหลกแล้วพอกก็ใช้ได้เช่นกัน (หัวผักกาด,เมล็ด)
38.ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 60 กรัมนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกกับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (หัวผักกาด,ใบ,เมล็ด)
39.เมนูผักกาดขาว ก็ได้แก่ ผัดผักกาดขาว, แกงจืดผักกาดขาว, ต้มจืดผักกาดขาวยัดใส้ ฯลฯ
 1.7 กะหล่ำดอก
กะหล่ำดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. var. botrytis L., Brassica oleracea L. cv. Group Cauliflower จัดอยู่ในวงศ์ BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)
กะหล่ำดอก (ดอกเขียวและดอกขาว) มีชื่อสามัญว่า Cauliflower, Heading Broccoli ส่วนกะหล่ำดอกม่วง จะมีชื่อสามัญว่า Purple cauliflower[1]
กะหล่ำดอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะหล่ำต้น ผักกาดดอก (ทั่วไป) เป็นต้น
ลักษณะของกะหล่ำดอก
•ต้นกะหล่ำดอก มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียวหรือสองปี ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของลำต้นประมาณ 50-80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกและสูงได้ประมาณ 90-150 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.2 กิโลกรัม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร และมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน ระบบรากแผ่กระจายบนชั้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร มีรากแขนงขนาดใหญ่ที่อาจชอนไชลงไปในดินได้ลึกกว่านี้ ลำต้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนของลำต้นยาวได้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 14-20 องศาเซลเซียส[1]
ต้นกะหล่ำดอก
ดอกกะหล่ํา
•ใบกะหล่ำดอก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนอันกันเป็นกระจุกคล้ายดอกกุหลาบซ้อน มีใบประมาณ 15-25 ใบ อยู่เรียงโดยรอบช่อดอก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ใบกว้างที่ขอบใบเป็นคลื่นนั้นจะมีขนาดกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ส่วนใบผอมเรียวนั้นขอบใบจะเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 20-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 70-80 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมีชั้นของไขห่อหุ้มผิวใบอยู่ แผ่นใบเป็นสีเทาจนถึงสีเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบเป็นสีขาว ไม่มีก้านใบ
ผักกะหล่ำดอก
•ดอกกะหล่ำ พืชผักชนิดนี้ผู้บริโภคจะใช้ส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ช่อดอกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายโดม ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองอัดกันแน่นจนแยกจากกันเป็นดอกเดี่ยวไม่ได้ ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ช่อดอกมีลักษณะหลวมหรือเบียดกันแน่น อาจมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-40 เซนติเมตร กระจุกช่อดอกประกอบไปด้วยช่อดอกหลายช่อ ในแต่ละช่อจะเป็นช่อแบบกระจะยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ดอกมีครบทั้ง 4 ส่วน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงตั้งตรงสีเขียว กลีบดอกเป็นรูปช้อนสีเหลืองจนถึงสีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน แบ่งเป็นขนาดสั้น 2 อัน และยาว 4 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 2 รังไข่เชื่อมติดัน มีผนังเทียมกั้นอยู่ตรงกลาง มีต่อมน้ำ 2 อัน อยู่ระหว่างรังไข่ และเกสรเพศผู้ที่มีลักษณะสั้น ส่วนก้านช่อดอกและก้านดอกพองขยายออกรองรับกระจุกดอก ขนาดและลักษณะของช่อดอกจะแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามอายุการเก็บเกี่ยว คือ พันธุ์เบา (Early Snowfall, Burpeeana, Snow Drift), พันธุ์กลาง (Snowfall, Halland Erfurt Improve, Cauliflower Main Crop Snowfall), และพันธุ์หนัก (Winler, Putna) ดอกกะหล่ำมีลักษณะอวบและกรอบ ซึ่งเราจะเรียกส่วนนี้ว่า “ดอกกะหล่ำ” ถ้าหากให้ปล่อยเจริญเติบโตต่อไป ก็จะพัฒนากลายเป็นช่อดอกและติดเมล็ดได้ต่อไป[1]
ดอกกะหล่ำ
•ผลกะหล่ำดอก ผลแตกแบบผักกาด มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีเมล็ดประมาณ 10-30 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
สรรพคุณของกะหล่ำดอก
1.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะชนิดเรื้อรัง
2.ช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการดื่มน้ำกะหล่ำดอกประมาณ 1-2 ออนซ์ทุกวัน
3.ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการใช้กะหล่ำดอกนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้ไปใช้อมกลั้วปาก
4.น้ำคั้นจากกะหล่ำดอกยังใช้อมกลั้วปาก เพื่อรักษาอาการเจ็บคอ แก้คออักเสบได้ด้วย
5.กะหล่ำดอกสดมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง
ประโยชน์ของกะหล่ำดอก
1.กะหล่ำดอกเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับโรงแรม ระดับภัตตาคาร หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงในครัวของแต่ละบ้าน สาเหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากนั้นก็เนื่องมาจากผักชนิดนี้มีรสชาติอร่อย กรอบหวาน ดอกเป็นสีเหลืองดูน่ารับประทาน สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัด แกง ใช้ทำผักดอก หรืออื่น ๆ อีกมากมาย[1]
2.กะหล่ำดอกเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ไม่ค่อยเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เนื่องจากมีลำต้นที่แข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ สามารถนำเอาส่วนของดอกทั้งสีขาวและสีม่วงมาใช้ประกอบอาหารได้เหมือนบร็อคโคลี่ และสีม่วงของดอกยังช่วยเพิ่มสีสันของอาหารให้ดูสวยงามน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย[1]
3.กะหล่ำดอกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีสารเอนไซม์ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane), ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones), กลูโคไซโนเลท (glucosinolates), สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates), สารผลึกอินโดล (indoles), อินโดลทรีคาร์บินัล (indole-3-carbinal), สารฟีโนลิกส์ (phenolics), กรดโฟลิกและคูมารีน ( folic acid &coumarines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบนั้นจะมีวิตามินซีสูง มีโพแทสเซียม กำมะถัน และมีเส้นใยมาก โดยสารซัลโฟราเฟนจะช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ส่วนกรดโฟลิกนั้นจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม สารอินโดลจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี และสารอินโดลทรีคาร์บินัลจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม เป็นต้น[2]
4.ในกะหล่ำดอกจะมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าคาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์ กลไกที่เกิดขึ้นคือ สาร sulforaphaneทำให้มีการผลิตเอนไซม์ phase II มากขึ้น ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอนไซม์ phase I ที่เป็นอันตรายได้ เพราะเอนไซม์ phase II สามารถไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ (cellular DNA)
5.พืชผักในวงศ์ CRUCIFERAE รวมไปถึงกะหล่ำดอก จะมีสารประกอบที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี จึงช่วยต้านมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี
6.ผักกะหล่ำดอกสามารถช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตได้ เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง
7.กะหล่ำดอกมีวิตามินซีสูง การรับประทานเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันและรักษาหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ที่อ่อนแอหรือผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
8.กะหล่ำดอกเป็นผักที่อุดมไปด้วยโคลีน ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและบำรุงสมองของทารกในครรภ์
9.กะหล่ำดอกเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก เพราะให้พลังงานต่ำ ไม่ต้องกลัวอ้วน และรับประทานได้ง่าย เพราะอร่อย ไม่ขมหรือเหม็นเขียวเหมือนกับผักชนิดอื่น ๆ
10.กะหล่ำดอกอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยในการขับถ่าย ขับล้างสารพิษในร่างกาย
11.ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดหลอด โรคหลอดเลือดในสมอง
12.วิตามินยูเป็นวิตามินที่พบได้ในพืชตระกูลกะหล่ำ ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่าวิตามินยูว่า เอส มีไทล์เมทิโอนีน (S-methylmethionine) ซึ่งทางการแพทย์จะใช้สารชนิดนี้ในการช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและช่วยบรรเทาอาการปวดท้องที่มีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะ ช่วยทำให้การหลังของน้ำย่อยนั้นเป็นปกติ และช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ แถมยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้นการรับประทานพืชตระกูลกะหล่ำซึ่งมีวิตามิยูอยู่เป็นประจำ จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม เป็นต้น







      1.8 บร็อคโคลี่
ต้นบร็อคโคลี่ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ลักษณะของดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นมีสีเขียวเข้ม ส่วนลักษณะของใบจะกว้างมีสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบหยัก ตามปกติแล้วเราจะนิยมบริโภคในส่วนที่เป็นดอกและในส่วนของลำต้นจะนิยมรองลงมา แต่คุณค่าทางอาหารกลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ดังนั้นการรับประทานทั้งสองส่วน ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดนั่นเองจากการศึกษาวิจัยของมหาลัยอิลลินอยส์พบว่าการรับประทานบร็อคโคลี่ โดยเฉพาะหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั่น เมื่อรับประทานร่วมกับ ต้นอ่อนของบร็อคโคลี่จะช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ! เนื่องจากในหน่อหรือต้นอ่อนบร็อคโคลี่นั้นมีเอนไซม์ไมโรซิเนส (Myrosinase) จะมีปริมาณมากกว่าต้นบร็อคโคลี่ที่โตแล้ว ซึ่งการรับประทานบร็อคโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานจนเกินไป เพราะจะไปทำลายเอนไซม์ไมโรซิเนสและซัลโฟราเฟนได้
 บร็อคโคลี่เป็นผักที่รสชาติหวานกรอบ สามารถรับประทานสดได้ หรือจะนำมาประกอบอาหาร ก็ได้หลากหลายเมนู อีกทั้งบร็อคโคลี่ยังมีคุณค่าทางสารอาหารที่สูงด้วย เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เบต้าแคโรทีน วิตามิน C และสารอาหารอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงสารเคมีทางธรรมชาติที่มีชื่อว่า ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และสารอินดอล (indole) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านมะเร็ง และการรับประทานบร็อคโคลี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1/2 ถ้วย ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก
การเลือกซื้อบร็อคโคลี่นั้น จะต้องซื้อที่มีดอกแน่น กระชับ มีสีเขียวเข้ม ก้านต้องแข็งแรงเหนียวนุ่ม ไม่ควรเลือกซื้อบร็อคโคลี่ที่มีดอกสีเหลือง มีใบเหี่ยวเฉา และมีก้านใบแข็งหรือหนาจนเกินไป
ประโยชน์ของบร็อคโคลี่
1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น ทำให้ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา (ซีลีเนียม)
3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก
4. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เรื่องจากบร็อคโคลี่เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสามารถ
6. ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์และทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
7. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
8. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
9. ผักในตระกูลกะหล่ำ มีความสัมพันธ์กับการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ (Strokes)
10. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
11. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรงยิ่งขึ้น
12. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคปอดร้ายแรง จากงานวิจัยของ ดร.ชีแอมบิสวัล (วิทยาลัยแพทยศาสตร์จอห์นสฮอฟกินส์USA) พบว่าสารในบร็อคโคลี่อาจช่วยยับยั้งการทำลายที่นำไปสู่ไปการเป็นโรคปอดร้ายแรง หรือที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ (Chronic Obsructive Pulmonary Disease หรือ COPD) โดยโรค COPD มักมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โดยสารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่จะช่วยส่งเสริมให้ยีน NRF2 ในเซลล์ปอดเกิดกิจกรรมเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันเซลล์ดังกล่าวไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษต่างๆในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้ และผู้ป่วย COPD ระยะก้าวหน้าจะมีการทำกิจกรรมกับยีน NRF2 ในระดับต่ำกว่ากลุ่มอื่น โดยยีนดังกล่าวจะทำหน้าที่เปิดให้กลไกหลายอย่างเพื่อขับพิษและสารก่อพิษต่างๆทำงาน เพื่อไม่ให้สารพิษทำลายเซลล์ปอด
13. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
14. สารซัลโฟราเฟนสามารถช่วยป้องกันการทำลายของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
15. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงคอลเลจ ลอนดอน ระบุว่ามีเพียงผักผลไม้ 5 ชนิดเท่านั้นที่มีารประกอบที่ทำหน้าที่คล้ายยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งได้แก่ บร็อคโคลี่ ส้ม แอปเปิ้ล หัวไชเท้า และมันฝรั่ง โดยบร็อคโคลี่นั้นเป็นผักที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด
16. ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กแรกเกิด
17. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันเนื่องจากบร็อคโคลี่มีวิตามินซีที่สูงมาก
18. บร็อคโคลี่มีส่วนช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลง เนื่องจากเป็นผักที่มีแมกนีเซียมสูง
19. สารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่ เป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบร็อคโคลี่ต้นอ่อนที่มีอายุเพียง 3 วัน
20. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
21. บร็อคโคลี่มีสารเคอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มความอึด แรงดี ออกกำลังได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหอบหืด ภูมิแพ้ มะเร็ง โรคหัวใจได้อีกด้วย
22. การรับประทานบร็อคโคลี่จะช่วยป้องกันและลดการลุกลามของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแนวโน้มการแข่งตัวอย่างรวดเร็ว (งานวิจัยของคุณหมอ Steven Schwartz มหาวิทยาลัย Ohio State University เมือง Columbus)
23. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขข้อ
24. บร็อกโคลี่มีโฟเลตสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการพิการทางสมองของเด็กรารก









      1.9 แตงกวา
แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumissativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น
ลักษณะของแตงกวา
•ต้นแตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษากว่าง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมากสามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร(ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น
•ใบแตงกวา ก้านใบยาว 5 –15เซนติเมตร มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ทั้งลำต้นและใบมีขนหยาบ
•ดอกแตงกวา ลักษณะดอกแตงกวามีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีลูกแตงกวาเล็ก ๆติดมาด้วย ส่วนดอกตัวผู้สังเกตที่ด้านหน้าดอกมีเกสรยื่นออกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็ก ๆติดที่โคนดอก ผลแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ไส้ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดมากมาย
แตงกวารูปแตงกวา
แตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก นิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ประโยชน์ของแตงกวา
1.แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2.ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
3.แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
4.ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยตอต้านมะเร็ง
5.ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
6.ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
7.ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
8.ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
9.ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล,เมล็ดอ่อน)
10.ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล,เมล็ด)
11.เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
12.ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
13.ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
14.แตงกวา สรรพคุณช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
15.ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
16.ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
17.ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
18.น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
19.ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
20.น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
21.สรรพคุณแตงกวาช่วยลดอาการบวมน้ำ
22.ช่วยลดอาการของโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม
23.ทรีทเม้นท์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ
24.จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบลอยแผลเป็น เป็นต้น
25.แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
26.แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว
27.ประโยชน์ของแตงกวา ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
28.เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ตุ้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ




       1.10 ฟักทอง
ฟักทอง ชื่อสามัญ Pumpkin
ฟักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbitamoschata Duchesne จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ฟักทองแบ่งออกเป็น 2 ตระกูล ตระกูลแรกก็คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) ผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และตระกูลสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยนั้น ผิวของผลขณะยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับเขียว ผิวมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย เปลือกจะแข็ง เนื้อด้านในเป็นสีเหลือง พร้อมด้วยเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่
ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น
ฟักทอง ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรี่และไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัมจะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
ฟักทอง แม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก แต่การรับประทานอย่างไม่เหมาะสมก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน เนื่องจากฟักทองนั้นมีฤทธิ์อุ่น ไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะร้อน เช่น ผู้ที่มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวมเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรรับประทานฟักทองในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป แม้กระทั่งในคนปกติเองก็ตามก็ไม่ควรรับประทานอย่างไร้สติ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้
ประโยชน์ของฟักทอง
1.ฟักทองมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา
2.ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิว ให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยปกป้องผิวไม่ให้เหี่ยวย่น
3.ประโยชน์ฟักทอง ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
4.ฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย
5.ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
6.น้ำมันจากเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
7.เมล็ดฟักทองช่วยทำให้อารมณ์ดี เพราะมีสารที่ช่วยในการสร้าง Serotininซึ่งมีผลต่ออารมณ์
8.มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
9.เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรืออยากลดความอ้วน เพราะมีไขมันน้อยกากใยสูง
10.ฟักทองมีกรดโปรไพโอนิค ซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง
11.มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
12.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ
13.ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่า บั้นเอว
14.มีส่วนช่วยป้องกันโรคผิวหนัง
15.เปลือกฟักทองมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
16.ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายหลังจากร่างกายทำงานอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
17.รากฟักทองนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
18.ฟักทอกจัดว่ามีกากใยอาหารสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
19.ฟักทองมีฤทธิ์อุ่นซึ่งจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
20.ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
21.สรรพคุณของฟักทอง มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
22.สรรพคุณฟักทอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่ว
23.ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากขยายใหญ่มากขึ้น
24.ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ
25.ช่วยขับพยาธิตัวตืด โดยนำเมล็ดฟักทองประมาณ 50 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำตาล นม และเติมน้ำลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แล้วนำมาแบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
26.ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
27.รากฟักทองเมื่อนำมาต้มดื่มจะช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ถอนพิษของฝิ่นได้
28.เยื่อกลางของผลฟักทอง สามารถนำมาใช้พอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวด และอักเสบได้
29.ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง อย่าง น้ำฟักทองคั้นสด พายฟักทอง
30.นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ย่างหลากหลาย เช่น ซุปฟักทอง แกง กินกับน้ำพริก เป็นต้น

2.ความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน
ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน    มีสีเหลือง   น้ำตาล   ถ้าเป็นแป้ง  และเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม  หรือ ม่วงดำ




บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา เรื่องทดสอบปริมาณแป้งในผัก ซึ่งมีวิธีการดังนี้
วัสดุอุปกรณ์อุปกรณ์
1. ผักทั้ง 10 ชนิด ได้แก่ แครอทหัวไชเท้า  คะน้า ผักกาดขาวขิง ข่าบล็อกโครี่ ดอกกะหล่ำแตงกวาฟักทอง
2. สารละลายไอโอดีน
3. ชาม
4. ช้อน
5. มีด
6. เขียง
7. เครื่องปั่น
8. แก้วน้ำพลาสติก
 ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา
                ในการศึกษาใช้รูปแบบการทดลอง สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558





วิธีการดำเนินงาน
1.นำผักทั้ง 10 ชนิด มาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ


2.นำผักที่หั่นละเอียดแล้วมาปั่นด้วยเครื่องปั่น




3.เมื่อปั่นผักแต่ละชนิดเสร็จแล้วนำมาเทลงบนผ้าขาวบางเพื่อคั่นเอาน้ำ
4.เมื่อคั่นเอาน้ำจากผักแต่ละชนิดเสร็จแล้ว ให้นำน้ำที่ได้เทลงบนแก้วพลาสติก
5.เมื่อเทน้ำลงบนแก้วพลาสติกแล้วให้หยดสารละลายไอโอดีนลงไปในปริมาณที่เท่าๆกันแล้วคนให้เข้ากัน
6.หลังจากหยดสารละลายไอโอดีนแล้ว ให้สังเกตสีที่เปลี่ยนไปของน้ำผักแล้วบันทึกผล















บทที่ 4
 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาปริมาณแป้งที่อยู่ในผัก ได้ผลดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความเปลี่ยนแปลงของน้ำผักที่หยดสารละลายไอโอดีน จำนวน 15 หยด
ผักชนิดต่างๆ
การเปลี่ยนแปลของน้ำผักเมื่อหยดไอโอดีน จำนวน 15 หยด
1.ฟักทอง
สีของน้ำฟักทองเปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำเงิน
2 แครอท
สีของน้ำแครอทเปลี่ยนเป็นสีดำ
3. หัวไชเท้า
สีของน้ำหัวไชเท้าเปลี่ยนเป็นสีดำ
4. ข่า
สีของน้ำข่าเปลี่ยนเป็นสีดำเล็กน้อย
5. บร็อคโคลี่
สีของน้ำบร็อคโคลี่เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเกือบดำ
6. ดอกกะหล่ำ
สีของน้ำดอกกะหล่ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม
7. แตงกวา
สีของน้ำแตงกวาเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม
8. ผักกาดขาว
สีของน้ำผักกาดขาวเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
9. คะน้า
สีของน้ำคะน้าเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
10. ขิง
สีของน้ำขิงไม่มีการปลี่ยนแปลงจากเดิม

จากตารางที่ 1 พบว่าฟักทองมีปริมาณแป้งสะสมอยู่มากที่สุด รองลงมา คือ แครอท หัวไชเท้า ข่า บร็อคโคลี่ แตงกวา ดอกกะหล่ำ ผักกาดขาว คะน้าและขิงตามลำดับ







บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จากการศึกษา เรื่อง ทดสอบปริมาณแป้งที่อยู่ในผัก เพื่อทดสอบปริมาณแป้งที่สะสมอยู่ในผักแต่ละชนิด ซึ่งสามารถสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2. สมมติฐานของการศึกษา
3. ขอบเขตของการศึกษา
4. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
5. วิเคราะห์ข้อมูล
6. สรุปผลการศึกษา
7. ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                เพื่อทดสอบปริมาณแป้งที่สะสมอยู่ในผักแต่ละชนิด
สมมติฐานของการศึกษา
                ฟักทองเป็นผักที่มีปริมาณแป้งสะสมอยู่มากที่สุด
ขอบเขตของการศึกษา
                ศึกษาเฉพาะผักที่ใช้ใบ ผล ลำต้น ดอกและหัวในการรับประทาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                ผักแต่ละชนิดและสารละลายไอโอดีน
การวิเคราะห์ข้อมูล
                ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของปริมาณแป้งที่อยู่ในผักแต่ละชนิด โดยการดูจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำผักเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงไป
สรุปผลการศึกษา
                ผลการศึกษาที่มีต่อการศึกษาเรื่อง ทดสอบปริมาณแป้งที่อยู่ในผัก สรุปว่าฟักทองมีปริมาณแป้งสะสมอยู่มากที่สุด
การอภิปรายผล
                จากการศึกษา เรื่อง ทดสอบปริมาณแป้งที่อยู่ในผัก พบว่า ฟักทองมีปริมาณแป้งสะสมอยู่มากที่สุด รองลงมา คือ แครอท หัวไชเท้า ข่า บร็อคโคลี่ แตงกวา ดอกกะหล่ำ ผักกาดขาว คะน้าและขิงตามลำดับ เพราะเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงไปในน้ำผักแต่ละชนิดแล้ว ฟักทองมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด รองลงมาคือ แครอท และผักอื่นๆตามที่ลำดับไว้ข้างต้น
ข้อเสนอแนะ
                1.ควรศึกษาในผักชนิดอื่นๆด้วย
                2.ควรเพิ่มปริมาณของสารละลายไอโอดีนเพื่อให้เห็นผลชัดเจนขี้น
               






2 ความคิดเห็น: